วันอาทิตย์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2552

The 67th Golden Globe Awards Prediction (ครั้งที่ 2)

แก้ไขการทำนายเล็กน้อยจากครั้งแรกครับ สิ่งที่เปลี่ยนแปลงใส่เป็นสีเขียวละกัน

MOTION PICTURE – DRAMA

An Education
Avatar
The Hurt Locker

Invictus
Precious: Based on the Novel Push by Sapphire

ครั้งที่ 1
The Blind Side

An Education
The Hurt Locker

Invictus
Precious: Based on the Novel Push by Sapphire

ACTOR IN A MOTION PICTURE - DRAMA
Jeff Bridges - Crazy Heart
Colin Firth - A Single Man
Morgan Freeman - Invictus
Viggo Mortensen - The Road
Jeremy Renner - The Hurt Locker

ACTRESS IN A MOTION PICTURE – DRAMA
Sandra Bullock - The Blind Side
Helen Mirren - The Last Station
Carey Mulligan -
An Education
Gabourey Sidibe - Precious: Based on the Novel Push by Sapphire

MOTION PICTURE - MUSICAL OR COMEDY
(500) Days of Summer
Julie & Julia
Nine

A Serious Man
Up in the Air

ACTOR IN A MOTION PICTURE - MUSICAL OR COMEDY
George Clooney - Up in the Air
Matt Damon - The Informant!
Daniel Day-Lewis - Nine

Joseph Gordon-Lewitt - (500) Days of Summer
Michael Stuhlbarg - A Serious Man

ACTRESS IN A MOTION PICTURE - MUSICAL OR COMEDY
Sandra Bullock - The Proposal
Marion Cotillard - Nine
Zooey Deschanel - (500) Days of Summer
Meryl Streep - Julie & Julia

ACTOR IN A SUPPORTING ROLE IN A MOTION PICTURE
Woody Harrelson - The Messenger
Stanley Tucci - The Lovely Bones
Christoph Waltz - Inglorious Basterds


ACTRESS IN A SUPPORTING ROLE IN A MOTION PICTURE
Penelope Cruz - Nine
Anna Kendrick - Up in the Air
Julianne Moore - A Single Man
Mo’Nique - Precious: Based on the Novel Push by Sapphire

ANIMATED FEATURE FILM
Ponyo
The Princess and the Frog
Up

DIRECTOR - MOTION PICTURE
Kathryn Bigelow - The Hurt Locker
James Cameron - Avatar
Clint Eastwood -
Invictus
Jason Reitman - Up in the Air
Quentin Tarantino - Inglorious Basterds

ครั้งที่ 1
Lee Daniels - Precious: Based on the Novel Push by Sapphire
Clint Eastwood - Invictus
Rob Marshall - Nine
Jason Reitman - Up in the Air

วันเสาร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2552

มุมเล็กๆ ที่น่าสนใจของลูกโลกทองคำ


ถ้าพูดถึง “ออสการ์” แล้ว แทบจะไม่มีนักดูหนังคนไหนไม่รู้จัก แม้แต่คนที่ไม่ใช่นักดูหนัง เอาเป็นว่าดูแค่ฉาบฉวย ก็ยังต้องรู้จักออสการ์กันบ้างล่ะ จริงมั๊ย?... เค้าว่าจะดูรางวัลออสการ์ให้สนุก อย่างน้อยก็ต้องรู้เรื่องพอให้ถูไถไปได้บ้าง จึงไม่น่าแปลกที่ใครๆ ต่างพากันสนใจสิ่งละอันพันละน้อย และอีกสารพัดสารพันสถิติที่เกิดขึ้นตลอดระยะเวลาอันยาวนานของรางวัลๆ นี้ ลองไปหาแฟนพันธุ์แท้ออสการ์ดูสิ มีตรึม!!! เสร็จแล้วลองถามคำถามอย่าง “ใครได้รางวัลมากที่สุด?”, “นักแสดงอายุมากที่สุดที่ได้รางวัลเป็นใคร?”, “หนังที่ได้ออสการ์มากที่สุดล่ะ?” ...เชื่อว่ามีหลายคนที่รู้ ...แต่ถ้าหากเราเอาคำถามพวกนี้มาถามซ้ำ แล้วเปลี่ยนจากออสการ์มาเป็นรุ่นน้องอย่างลูกโลกทองคำแทน ต่อให้เชี่ยวออสการ์ยังไง บางคนก็มาตายกันตรงนี้แหละ!! เพราะฉะนั้นก่อนจะไปออสการ์ เรามาเก็บความรู้เผื่อเอาไว้ช่วยให้ดูสนุกๆ ก่อนที่การประกาศรายชื่อผู้เข้าชิงลูกโลกทองคำที่จะมีขึ้นในวันที่ 15 ธันวาคมนี้กันดีกว่าครับ

• ในปัจจุบัน งานประกาศผลรางวัลลูกโลกทองคำเป็นเพียงงานเดียวที่มีการมอบรางวัลทั้งผลงานทางด้านภาพยนตร์ และโทรทัศน์

• การถ่ายทอดสดงานประกาศผลครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อปี 1958 โดยการถ่ายทอดสดในครั้งนั้นเป็นการถ่ายทอดเฉพาะในนครลอสแองเจลิส และเป็นเช่นนี้เรื่อยมาจนกระทั่งปี 1964 จึงมีการส่งสัญญาณถ่ายทอดสดทั่วประเทศเป็นครั้งแรก

• การถ่ายทอดสดในปี 1964 และ 1965 ถูกแทรกเป็นช่วงพิเศษในรายการ The Andy Williams Show

• หนังที่ได้รับลูกโลกทองคำมากที่สุดมีจำนวน 5 เรื่อง ได้แก่ Doctor Zhivago (1965), Love Story (1970), The Godfather (1972), One Flew over the Cuckoo’s Nest (1975) และ A Star is Born (1976) โดยทั้งหมดได้รับรางวัลเท่ากัน นั่นคือ 5 รางวัล

• นอกจากนี้ Doctor Zhivago, One Flew over the Cuckoo’s Nest, A Star is Born และ The Lord of the Rings: The Return of the King (2003), Slumdog Millionaire (2008) ยังเป็นหนังเพียง 5 เรื่องที่สามารถทำแต้มชนะได้สมบูรณ์แบบจากทุกสาขาที่ได้เข้าชิง โดย Return of the King และ Slumdog Millionaire ได้เข้าชิง 4 สาขา

• เรื่องที่สุดของ One Flew over the Cuckoo’s Nest ยังไม่จบแค่นี้ เพราะ One Flew over… ยังเป็นหนังเพียงเรื่องเดียวที่คว้ารางวัลได้แบบ Top 5 หรือ 5 สาขาหลัก นั่นคือ ภาพยนตร์ยอดเยี่ยมประเภทดราม่า โดยมีไมเคิล ดักลาสเป็นผู้อำนวยการสร้าง, นักแสดงนำชาย (ดราม่า) จาก แจ๊ค นิโคลสัน, นักแสดงนำหญิง (ดราม่า) จาก หลุยส์ เฟล็ตเชอร์, ผู้กำกับยอดเยี่ยม จาก มิลอส ฟอร์แมน และบทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม จากการเขียนบทของโบ โกลด์แมน (นอกจากรางวัล Top 5 แล้ว แบรด ดูริฟ ยังได้รับรางวัลพิเศษนักแสดงหน้าใหม่ชายยอดเยี่ยมจากบท ‘บิลลี่ บิบบิท’ มาอีกหนึ่งรางวัลด้วย ...อะไรมันจะเยี่ยมขนาดนี้!!)

• ยังคงวนเวียนอยู่แถวๆ ปี 1975 ต่อไป เพราะหนังที่ได้เข้าชิงลูกโลกทองคำสูงสุดในประวัติศาสตร์ก็อยู่ในปีเดียวกับ One Flew over… นั่นแหละ หนังเรื่องนั้นก็คือ Nashville ซึ่งทำสถิติเข้าชิงเอาไว้ที่ระดับ 9 รางวัลจาก 6 สาขาอันได้แก่ ภาพยนตร์ยอดเยี่ยมประเภทดราม่า, ผู้กำกับยอดเยี่ยม, นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม, นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม, บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม และเพลงประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ...ไม่ต้องงงว่า 6 สาขาแต่ชิงจริงๆ 9 เพราะเฉพาะแค่สาขาสมทบหญิงอย่างเดียวก็อัดเข้าไป 4 ชีวิตแล้วทั้ง บาร์บารา แฮร์ริส, เจอรัลดีน แชปลิน, ลีลี่ ทอมลิน และโรนี่ บลัคลีย์ เห็นยกพวกกันเข้าชิงอย่างนี้ แต่ขอโทษ... วืด!!! ยกกลุ่ม ปล่อยให้เบรนด้า วัคโคโร่ จาก Jacqueline Susann's Once is Not Enough เอารางวัลสมทบหญิงไปนอนกอดสบายใจซะงั้น... ก่อนที่ท้ายที่สุด ลี แกรนท์ จาก Shampoo ซึ่งเป็นรายชื่อที่ 6 ที่ได้ชิงในสาขานี้จะตีแสกตะวันกลายไปเป็นผู้ชนะบนเวทีออสการ์แทน!!!

• Nashville ยังคงทำงามหน้าต่อไป เมื่อเบ็ดเสร็จแล้วหนังที่ได้เข้าชิงสูงสุดในประวัติศาสตร์เรื่องนี้กลับบ้านพร้อมรางวัลเพลงประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยมจากเพลง “I’m Easy” ด้วยฝีมือของคีธ คาราดีนเพียงรางวัลเดียว ซึ่งก็เป็นเพียงสาขาเดียวบนเวทีออสการ์เช่นกันที่หนังเรื่องนี้ทำได้

• จาก Nashville ที่ครองอันดับ 1 เข้าชิงสูงสุดที่ 9 รางวัล รองลงมาก็คือ 8 รางวัล ซึ่งมีหนัง 5 เรื่องครองตำแหน่งร่วมกันดังนี้ Cabaret (1972), Bugsy (1991), Titanic (1997), Chicago (2002) และ Cold Mountain (2003)

• หนัง 2 เรื่องที่ทำแต้มได้แย่กว่าใครเพื่อนก็คือ Who’s Afraid of Virginia Woolf? ในปี 1966 และ The Godfather Part III ในปี 1990 ทั้งสองเรื่องต่างเข้าชิงทั้งสิ้น 7 รางวัล แต่ก็สอบตกทั้ง 7 รางวัล ไม่ได้อะไรติดมือกลับบ้านไปเลยซักนิดเดียว

• ใครๆ ก็รู้ว่าแคเธอรีน เฮพเบิร์นคือที่สุดของนักแสดงแห่งโลกภาพยนตร์ด้วยการเป็นเจ้าของออสการ์สาขาการแสดงมากที่สุดในประวัติศาสตร์ถึง 4 ตัวจากการเข้าชิง 12 ครั้ง แต่สำหรับลูกโลกทองคำแล้วดูจะไม่เป็นเช่นนั้น เพราะเฮพเบิร์นไม่เคยได้ลูกโลกทองคำกลับไปนอนกอดเลยซักตัวทั้งๆ ที่เข้าชิงไปตั้ง 8 ครั้ง...


• ผู้ที่ได้รับลูกโลกทองคำมากที่สุดก็คือ สุดเก๋าของวงการ... แจ็ค นิโคลสัน กับ 6 รางวัลการแสดงอันได้แก่ นำชายดราม่า จาก Chinatown (1974), One Flew over… (1975), About Schmidt (2002); นำชายเพลงหรือตลก จาก Prizzi’s Honor (1985), As Good As It Gets (1997); สมทบชาย จาก Terms of Endearment (1983) และ 1 รางวัลชีวิตการทำงานดีเด่นเซซิล บี. เดอมิลล์ในปี 1998

• ส่วนฝ่ายหญิงก็หนีไม่พ้นเจ้าป้าเมอรีล สตรีพ ครอง 6 ลูกโลกทองคำเท่ากัน ได้แก่ นำหญิงดราม่า จาก The French Lieutenant’s Woman (1981), Sophie’s Choice (1982); นำหญิงเพลงหรือตลก จาก The Devil Wears Prada (2006); สมทบหญิง จาก Kramer vs. Kramer (1979), Adaptation (2002) และนำหญิงสำหรับผลงานทางโทรทัศน์ จาก Angels in America (2003) นั่นเอง

• ในขณะที่อันดับสองซึ่งต่างได้ไปคนละ 5 ลูกโลกทองคำก็คือ ฟรานซิส ฟอร์ด คอปโปล่า, เชอร์ลีย์ แมคเลน, โรซาลินด์ รัสเซล และโอลิเวอร์ สโตน

• แม้ว่าโรซาลินด์ รัสเซลจะเป็นเจ้าของลูกโลกทองคำถึง 5 ครั้ง แต่เชื่อมั๊ยว่าเธอไม่เคยเป็นผู้ชนะสำหรับออสการ์เลย (ถ้าไม่นับรางวัลเกียรติยศ Jean Hersholt Humanitarian Award ที่คณะกรรมการออสการ์มอบให้เมื่อปี 1972)

• นักแสดงชาย-หญิงที่ได้เข้าชิงมากที่สุดก็คือ แจ็ค เลมมอน และ เมอรีล สตรีพ โดยเลมมอนทำสถิติไว้ที่ 22 ครั้ง ในขณะที่สตรีพทำไว้ที่ 23 ครั้ง (และไม่มีทีท่าว่าจะหยุดแค่นี้!!) ครั้งล่าสุดที่สตรีพได้เข้าชิงก็เมื่อปีที่แล้วนี่เอง สร้างสถิติการเข้าชิงครั้งที่ 22 และ 23 ด้วยนำหญิงดราม่าจาก Doubt และนำหญิงเพลงหรือตลกจาก Mamma Mia! นั่นเอง (คาดว่าครั้งที่ 24 คงตามมาในปีนี้)

• หลายๆ คนคงรู้กันว่าลูกโลกทองคำใจดีแค่ไหน บ่อยครั้งที่เราจะเห็นเกินครึ่งของผู้เข้าชิงในสาขาเดียวกันกลายไปเป็นผู้ชนะ แต่มีใครรู้บ้างมั๊ยว่าสำหรับสาขาการแสดงแล้ว ครั้งเดียวที่มีผู้ชนะมากถึง 3 คนในสาขาเดียวกันก็คือ สาขานำหญิงดราม่าจากงานประกาศผลครั้งที่ 46 เมื่อปี 1988 ซึ่ง 3 คนที่ว่าได้แก่ โจดี้ ฟอสเตอร์ จาก The Accused, ซิเกอร์นีย์ วีเวอร์ จาก Gorillas in the Mist และ เชอร์ลีย์ แมคเลน จาก Madame Sousatzka ท้ายที่สุดเป็นที่ฟอสเตอร์นั่นเองที่คว้าออสการ์นำหญิงปีนั้นมาครองได้สำเร็จ

• สำหรับวีเวอร์แล้วเรียกว่าปี 1988 เป็นปีทองของเธอจริงๆ เพราะนอกจาก Gorillas in the Mist จะทำให้เธอเป็นเจ้าของลูกโลกทองคำนำหญิงดราม่าแล้ว ในปีเดียวกันเธอยังเป็นผู้ชนะสมทบหญิงจาก Working Girl ด้วย นั่นจึงทำให้วีเวอร์เป็นนักแสดง 1 ใน 4 คน ที่ได้รับลูกโลกทองคำในสาขาการแสดงถึง 2 ตัวในปีเดียวกัน


• เพื่อนร่วมตำแหน่งกับวีเวอร์อีก 3 คนที่เหลือก็คือ โจน โพลว์ไรท์ ซึ่งคว้าทั้งสมทบหญิงจาก Enchanted April และสมทบหญิงสำหรับผลงานทางโทรทัศน์จาก Stalin ในปี 1992; รายถัดมาคือเจ้าป้าเฮเลน มิเรน ผู้ซึ่งสามารถคว้าทั้งนำหญิงดราม่าจาก The Queen และนำหญิงสำหรับผลงานภาพยนตร์ทางโทรทัศน์จาก Elizabeth I ในปี 2006 มันเริ่ดก็ตรงที่ทั้งสองบทที่ป้าชนะรางวัลล้วนเป็นบทราชินีผู้ยิ่งใหญ่แห่งราชวงศ์อังกฤษทั้งราชินีเอลิซาเบธที่ 2 ใน The Queen และราชินีเอลิซาเบธที่ 1 ใน Elizabeth I นี่แหละ ในขณะที่รายสุดท้ายก็คือสาวเคต วินสเลต ที่คว้านำหญิงดราม่าจาก Revolutionary Road และสมทบหญิงจาก The Reader ในการจัดงานครั้งล่าสุดมาหมาดๆ นี่เอง

• เจมี่ ฟ็อกซ์ ก็คือนักแสดงเพียงคนเดียวที่ได้เข้าชิงมากที่สุดในปีเดียวกัน นั่นคือในงานครั้งที่ 62 เมื่อปี 2004 ฟ็อกซ์เข้าชิงถึง 3 สาขาอันได้แก่ นำชายเพลงหรือตลกจาก Ray, สมทบชายจาก Collateral และนำชายสำหรับมินิซีรีส์หรือภาพยนตร์ที่สร้างสำหรับฉายทางโทรทัศน์ (Best Actor in a Mini-Series or a Motion Picture Made for Television) จากเรื่อง Redemption ก่อนที่จะทำสำเร็จจากการแสดงอันยอดเยี่ยมของเขาใน Ray

• นักแสดงอายุน้อยที่สุดที่เป็นเจ้าของรางวัลลูกโลกทองคำคือ ริค ชโรว์เดอร์ ซึ่งได้รับรางวัลนักแสดงหน้าใหม่ยอดเยี่ยมจาก The Champ เมื่อปี 1979 ตอนนั้นเขาเพิ่งจะมีอายุแค่ 9 ขวบเท่านั้นเอง

• ส่วนนักแสดงอายุมากที่สุดที่ได้รับลูกโลกทองคำก็คือ เจสซิก้า แทนดี้ ในวัย 80 ปีที่ได้รับรางวัลนำหญิงเพลงหรือตลกจาก Driving Miss Daisy เมื่อปี 1989 อ้อ... ถ้าเป็นนักแสดงชายก็จะเป็น เฮนรี่ ฟอนด้า จาก On Golden Pond ที่เป็นผู้ชนะสาขานำชายดราม่าเมื่อปี 1981 ตอนอายุ 76 ขวบนั่นเอง... ทั้งสองยังเป็นเจ้าของออสการ์ในเวลาต่อมาด้วย

• ดาราคนไหนๆ ก็อยากได้รางวัลการันตีความสามารถกันทั้งนั้นแหละ ไม่ว่าจะเป็นรางวัลใหญ่ รางวัลเล็ก หรือรางวัลอะไรก็ตาม (เว้นไว้แต่ราซซี่... ซึ่งคงไม่มีใครอยากได้ นอกจากฮัลลี่ เบอร์รี่!) จริงมั๊ย? เรื่องของเรื่องก็คือมีเรื่องแปลกแต่จริงให้เห็นกันจนได้... เมื่อมาร์ลอน แบรนโด นักแสดงเจ้าของลูกโลกทองคำนำชายดราม่า และออสการ์นำชายจาก On the Waterfront เมื่อปี 1954 ปฏิเสธที่จะรับรางวัลนำชายดราม่าในปี 1972 หลังจากคณะกรรมการตัดสินว่าบทดอน วีโต้ที่เขาแสดงไว้ใน The Godfather โดดเด่นพอที่จะมอบลูกโลกทองคำตัวที่สองให้กับเขา สำหรับสาเหตุการปฏิเสธการรับรางวัลนั้น แบรนโดแค่บอกเอาไว้ว่าเขาต้องการทำเพื่อประท้วงลัทธิจักรวรรดินิยมของอเมริกาในขณะนั้น (โอ้...เฉียบขาดจริงๆ!!!) คิดดูละกันว่าพอถึงตอนออสการ์ คณะกรรมการยังยอมตบรางวัลตัวที่สองให้เหมือนกัน คุณปู่ยังไม่เอาเล้ยยย!!!

• เรื่องของปู่แบรนโดนี่ไม่ใช่ครั้งแรกนะ เพราะก่อนหน้านั้น 3 ปีเคยมีลัทธิ “หยิ่งนิยม” มาสร้างความเรื่องมาก (และปวดหัว) ให้กับ HFPA มาแล้ว เมื่อโปรดิวเซอร์ของหนังจากแอลจีเรียเรื่องดังอย่าง Z ไม่ยอมรับรางวัลภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยมประจำปี 1969 เหตุผลของพี่ท่านก็คือ พี่ท่านมั่นใจว่าหนังของพี่ท่านดีพอที่จะได้เข้าชิงในสาขาหนังยอดเยี่ยมด้วย (ออกแนวโลภ...) อย่างไรก็ดี ท้ายที่สุดทุกคนก็ต้องเชื่อว่าหนังของพี่ท่านดีจริง เพราะเมื่อมาถึงเวทีออสการ์ Z ได้เข้าชิงทั้งสาขาหนังยอดเยี่ยม หนังต่างประเทศยอดเยี่ยม ผู้กำกับยอดเยี่ยม บทดัดแปลงยอดเยี่ยม และตัดต่อยอดเยี่ยม รวมทั้งหมด 5 สาขา ก่อนจะคว้ามาได้ 2 จากหนังต่างประเทศยอดเยี่ยม และตัดต่อยอดเยี่ยม ...งานนี้พี่ท่านถึงยอมรับรางวัลแต่โดยดี ก็สะใจกันไป!!!

ทีนี้ก็เหลือแค่รอดูว่าจะมีสถิติอะไรแปลกประหลาดเกิดขึ้นกับงานประกาศผลลูกโลกทองคำในปีนี้บ้าง แอบลุ้นแอบเชียร์หนังเรื่องไหน ติดตามกันได้ 17 มกราคมนี้ครับ ...หวังว่าคงไม่มีใครก่อม็อบไม่รับรางวัลกันอีกนะ!!

วันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2552

The 67th Golden Globe Awards Prediction (ครั้งที่ 1)

รางวัลลูกโลกทองคำจะประกาศรายชื่อผู้เข้าชิงครั้งที่ 67 ประจำปี 2009 ในวันที่ 15 ธันวาคมที่จะถึงนี้แล้ว ขอทำนายซักหน่อยดีกว่าว่าเรื่องไหนจะเข้าชิงอะไรยังไงบ้าง...

MOTION PICTURE – DRAMA
The Blind Side
An Education
The Hurt Locker
Invictus
Precious: Based on the Novel Push by Sapphire

ACTOR IN A MOTION PICTURE - DRAMA
Jeff Bridges - Crazy Heart
Colin Firth - A Single Man
Morgan Freeman - Invictus
Viggo Mortensen - The Road
Jeremy Renner - The Hurt Locker

ACTRESS IN A MOTION PICTURE – DRAMA
Sandra Bullock - The Blind Side
Helen Mirren - The Last Station
Carey Mulligan -
An Education
Gabourey Sidibe - Precious: Based on the Novel Push by Sapphire

MOTION PICTURE - MUSICAL OR COMEDY
(500) Days of Summer
Julie & Julia
Nine

A Serious Man
Up in the Air

ACTOR IN A MOTION PICTURE - MUSICAL OR COMEDY
George Clooney - Up in the Air
Matt Damon - The Informant!
Daniel Day-Lewis - Nine

Joseph Gordon-Lewitt - (500) Days of Summer
Michael Stuhlbarg - A Serious Man

ACTRESS IN A MOTION PICTURE - MUSICAL OR COMEDY
Sandra Bullock - The Proposal
Marion Cotillard - Nine
Zooey Deschanel - (500) Days of Summer
Meryl Streep - Julie & Julia

ACTOR IN A SUPPORTING ROLE IN A MOTION PICTURE
Woody Harrelson - The Messenger
Christoph Waltz - Inglorious Basterds

ACTRESS IN A SUPPORTING ROLE IN A MOTION PICTURE
Penelope Cruz - Nine
Anna Kendrick - Up in the Air
Julianne Moore - A Single Man
Mo’Nique - Precious: Based on the Novel Push by Sapphire

ANIMATED FEATURE FILM
Ponyo
The Princess and the Frog
Up

DIRECTOR - MOTION PICTURE
Lee Daniels - Precious: Based on the Novel Push by Sapphire
Clint Eastwood -
Invictus
Rob Marshall - Nine
Jason Reitman - Up in the Air

Hello. AWARDS SEASON

เปิด blog อีกอันแ้ล้ว ท่าจะบ้าเนอะเรา blog นี้เอาไว้ใช้สนองอารมณ์เกี่ยวกับ Awards Season ละกันครับ

OK. It's another new one. I'm exactly crazy!! So use this space for discussing an Awards Season. Wow!!